วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 2 ประเภทโครงงานคอมพิวเตอร์

 ประเภทโครงงานคอมพิวเตอร์ 


  โครงงานคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

 1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ใช้ประกอบการสอนวิชาต่าง ๆ จุดสำคัญอยู่ที่เนื้อหาน่าสนใจ และความสวยงามของส่วนติดต่อผู้ใช้ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปทำความเข้าใจได้ยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป


ที่มา :
http://1.bp.blogspot.com
http://vcharkarn.com

  2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมมองต่าง ๆ สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้ใช้ในการพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปโดยง่าย ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมมองต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่นโปรแกรมประเภท 3D

ที่มา :
http://1.bp.blogspot.com
http://3.bp.blogspot.com



 3. โครงงานการทดลองทฤษฎี เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลอง การทดลองสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ศึกษา แล้วเสนอเป็นความคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของสัตว์ ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ








ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th

4. โครงงานการประยุกต์ใช้งาน เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งใหม่ ๆ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้ต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อนแล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบและพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นจะต้องมีการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์ แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีการทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

ที่มา :http://1.bp.blogspot.com

  5. โครงงานพัฒนาเกม โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ หรือเพื่อความเพลิดเพลิน ไม่เน้นความรุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงการประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่นพร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุง หรือพัฒนาขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ น่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ เช่น เกมคอมพิวเตอร์



ที่มา:
http://2.bp.blogspot.com
http://1.bp.blogspot.com


ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/type_of_project_computer.html




วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่1 องค์ความรู้ต่างๆของโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์



หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ที่มา :  http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html


ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์

 1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ

2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
  1. การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
  2. การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
  3. การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
  4. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครง งานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
  5. การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
ที่มา : https://krudarin.wordpress.com/

ขอบข่ายของโครงงาน

1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/314100

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6 ข้อสอบ 7 วิชาหลัก

7 วิชาสามัญ

7 วิชาสามัญ คืออะไร ?

เป็นการสอบคล้ายๆ กับการสอบ GAT/PAT ที่นำคะแนนไปยื่นแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ 7 วิชาสามัญอาจจะง่ายกว่านิดนึงตรงที่เรื่องของการวิเคราะห์ข้อสอบแต่ละรายวิชาที่จะวิเคราะห์เรื่องของการเจาะลึก การตีความแบบสมเหตุสมผล แต่กะนั้นก็ยากกว่าการสอบ O-Net พอสมควร
7 วิชาสามัญ การสอบจากข้อสอบศูนย์กลางที่ สทศ. จัดขึ้น และเป็นคนออกข้อสอบเองเพื่อแก้ไขปัญหาน้องๆ นักเรียนชั้น ม.6 ที่ไม่ต้องวิ่งเต้นสอบแต่ละที่ให้เหนื่อยเหมือนเมื่อก่อน อาทิ เมื่อก่อนนู้นนนน หากน้องๆ ต้องการสอบรับตรงคณะพยาบาลก็ต้องไปสอบถึงที่ ที่มหาวิทยาลัย หรือโครงการที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ เปิดสอบของคณะพยาบาลเลย หากมี 3 ที่ที่ต้องการสอบก็ต้องวิ่งวุ่นไปสอบทั้ง 3 ที่เลย ทำให้ยุ่งยาก แต่ในส่วนของการสอบแบบ 7 วิชาสามัญ น้องๆ สามารถสอบที่เดียว และนำคะแนนที่สอบได้นี้ไปยื่นเทียบกับมหาวิทยาลัย หรือสถาบันที่เข้าร่วมโครงการใช้ 7 วิชาสามัญยื่นได้



สรุป 
1. ผู้สมัคร ต้องเช็คว่ามหา’ลัยใดบ้างที่สมัครแบบรับตรงอยู่ในระบบ Clearing-house หรือไม่
2. มหาวิทยาลัยหรือคณะที่สมัคร ใช้วิชาสามัญอะไรบ้าง หรือ ใช้ GAT/PAT เป็นต้น

-ใครสามารถสอบได้บ้าง?
ผู้ที่จะเข้าสอบ 7 วิชาสามัญ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือสูงกว่า ม.6 ขึ้นไป

-7 วิชาสามัญมีวิชา อะไรบ้าง?
1. สังคมศึกษา
2. ภาษาไทย
3. คณิตศาสตร์
4. เคมี
5. ฟิสิกส์
6. ชีววืทยา
7. อังกฤษ

-ช่วงเวลาและกำหนดการสอบ (เป็นช่วงประมาณการเท่านั้น กรุณาติดตามข้อมูลข่าวสารอีกครั้ง)
สมัครสอบ ประมาณพฤศจิกายน, สอบ ประมาณมกราคม, ประกาศผล ประมาณกุมภาพันธ์

-ใครเป็นผู้จัดให้มีการทดสอบ 7 วิชาสามัญ
สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ)




ที่มา : http://www.ed-th.com/7-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/